|
|
|
ชื่อปริญญาและอักษรย่อ |
|
|
ชื่อเต็ม (ไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การบริหารจัดการความมั่นคงปลออดภัย)
ชื่อย่อ (ไทย) : ศศ.บ. (การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Arts (Security Management)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.A.(Security Management) |
|
ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตร |
|
|
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มุ่งผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ ที่มีความรู้ภาคทฤษฎีและ
ภาคปฏิบัติด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทั้งในด้านชีวิต ทรัพย์สิน และเทคโนโลยี โดย
อยู่บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม การคิดปฏิบัติสร้างสรรค์ทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อสร้างความ
เป็นผู้นำทางการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย ที่มีทักษะความสามารถตามมาตรฐานสากล
เป็นที่ยอมรับในประเทศและภูมิภาค อย่างมีธรรมาภิบาล และรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง "โลกยุค
ดิจิทัล" ในศตวรรษที่ 21
จุดเด่นของหลักสูตร
- เป็นหลักสูตรที่มีความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
- เป็นหลักสูตรที่สร้างบุคลากรทางด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัย ที่ให้ความสำคัญในการยกระดับความมั่นคงและความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ
- เป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์สังคมที่มีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอตลอดชีวิต
- เป็นหลักสูตรด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย ที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูงและตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตจำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
|
|
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร |
|
|
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทั้งในด้านชีวิต ทรัพย์สิน และเทคโนโลยี
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถเลือกใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยไปประยุกต์ใช้ในองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการคิดเชิงระบบ จิตวิทยา การสื่อสารที่สร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายระบบการสื่อสารทางบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีด้านคุณธรรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ มีหลักธรรมาภิบาลทางบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม การสร้างสัมพันธภาพเครือข่ายทางบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย
|
|
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร (Graduate Attributes) |
|
|
- นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยที่มีองค์ความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย มีทักษะการเรียนรู้ยนรู้ตอดชีวิต
- นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยที่เลือกใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยไปประยุกต์ใช้ในองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยที่มีทักษะการคิดเชิงระบบ จิตวิทยา การสื่อสารที่สร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายระบบการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยที่มีด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพมีหลักธรรมาภิบาลทางบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย
- นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยที่มีภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงางานเป็นทีม การสร้างสัมพันธภาพเครือข่ายทางบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย
|
|
แนวทางการประกอบอาชีพ |
|
|
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่
- เจ้าหน้าที่ดูแลด้านเทคนิค การกำกับดูแล และการจัดการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และประเมินภัยคุกคามและความเสี่ยงเพื่อความมั่นคงปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังภัยคุกคามระบบข้อมูลสารสนเทศ
- เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่พนักงานในองค์กร
- นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์
- ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจรักษาความปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
- เจ้าหน้าที่ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ข้าราชการตำรวจ (อำนวยการ)
|
|
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร |
|
|
หลักสูตรปริญญาตรีที่มีระยะเวลาการศึกษาปกติ 4 ปี มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต |
|
ระยะเวลาในการศึกษา |
|
|
ภาคปกติ
- ใช้เวลา 4 ปี |
ภาคสมทบ (Block Course)
- ใช้เวลา 3 ปี |
|
|
|
|
|
|