หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย
  หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
 
 
 
ชื่อปริญญาและอักษรย่อ
   

ชื่อเต็ม (ไทย) : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อย่อ (ไทย) : รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Public Administration (Public Administration)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.P.A. (Public Administration)

   
  ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตร
    หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการสร้างบัณฑิตเป็นนักบริหารมืออาชีพสมัยใหม่ เป็นผู้นำทางการบริหารภาครัฐและภาคเอกชนในยุคดิจิทัล มีคุณธรรมจริยธรรม มีธรรมาภิบาล และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ รวมทั้งเป็นผู้นำที่มีทักษะการสื่อสารและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สามารถเลือกใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
   
  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    1. มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกทางรัฐประศาสนศาสตร์ อภิปรายเชื่อมโยง แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
2. ประยุกต์ใช้องค์ความรู้การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมีเหตุผลด้วยความเป็นธรรมและชัดเจน
3. ผู้นำทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล จรรยาบรรณในวิชาการและวิชาชีพ มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
4. ผู้นำทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่กล้าตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม
5. นักบริหารมืออาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการบริหารกิจการสาธารณะในยุคดิจิทัลเพื่อประโยชน์ชุมชนและท้องถิ่น
   
  คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร (Graduate Attributes)
    แผน 1 แบบวิชาการ
  • ผู้นำและผู้ตามทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่รอบรู้ ใฝ่รู้ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆในภาคทฤษฎี
  • ผู้นำทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เลือกใช้องค์ความรู้ทางการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นพลวัตและมีความสลับซับซ้อนและเหมาะสมบริบทในพื้นที่โดยคำนึงถึงหลักจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างมีวินัยและเป็นธรรม
  • ผู้นำและผู้ตามทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล จรรยาบรรณทางวิชาการรับผิดชอบต่อสังคม
  • ผู้นำและผู้ตามทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีบุคลิกภาพที่ดี มีทักษะการสื่อสารที่สร้างสรรค์
  • นักบริหารมืออาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีจิตอาสา กล้าตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
แผน 2 แบบวิชาชีพ
  • ผู้นำและผู้ตามทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่รอบรู้ ใฝ่รู้ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆในภาคปฏิบัติ
  • ผู้นำทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เลือกใช้องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานและประเทศชาติ
  • ผู้นำและผู้ตามทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล จรรยาบรรณในวิชาชีพรับผิดชอบต่อสังคม
  • ผู้นำและผู้ตามทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีบุคลิกภาพที่ดี มีทักษะการสื่อสารที่สร้างสรรค์
  • นักบริหารมืออาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีจิตอาสา กล้าตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
   
  ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO)
    หลักสูตร แผน 1 แบบวิชาการ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนนักศึกษาสามารถ
  • PLO 1 อภิปรายเชื่อมโยง แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ กับระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  • PLO 2 ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการบริหารภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างสร้างสรรค์
  • PLO 3 วิเคราะห์องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยเลือกใช้กระบวนการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนนำทักษะทางการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นพลวัตและมีความสลับซับซ้อน
  • PLO 4 ผลิตงานวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ หรือผลงานวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ด้วยกระบวนการวิจัยอย่างมีจริยธรรม
  • PLO 5 มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
  • PLO 6 ผู้นำทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่กล้าตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • PLO 7 ทักษะการสื่อสารทางรัฐประศาสนศาสตร์ในรูปแบบที่หลากหลาย และเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
  • PLO 8 แสดงออกถึงการเป็นนักบริหารมืออาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล และมีจรรยาบรรณในวิชาการ
หลักสูตร แผน 2 แบบวิชาชีพ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนนักศึกษาสามารถ
  • PLO 1 อภิปรายเชื่อมโยง แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ กับระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
  • PLO 2 ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการบริหารภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างสร้างสรรค์
  • PLO 3 วิเคราะห์องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยเลือกใช้กระบวนการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนนำทักษะทางการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นพลวัตและมีความสลับซับซ้อน
  • PLO 4 สามารถบูรณาแนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อนำความรู้ไปประกอบวิชาชีพในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PLO 5 มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
  • PLO 6 ผู้นำทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่กล้าตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • PLO 7 ทักษะการสื่อสารทางรัฐประศาสนศาสตร์ในรูปแบบที่หลากหลาย และเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
  • PLO 8 แสดงออกถึงการเป็นนักบริหารมืออาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    แผน 1 แบบวิชาการ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง
  • มีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
  • ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
  • ไม่เป็นผู้ที่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจหรือ โรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของวิทยาลัย
  • มีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของวิทยาลัยนครราชสีมา ว่าด้วย การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควรจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป
แผน 2 แบบวิชาชีพ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง
  • มีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
  • ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
  • ไม่เป็นผู้ที่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจหรือ โรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของวิทยาลัย
  • มีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของวิทยาลัยนครราชสีมา ว่าด้วย การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควรจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป
   
  แนวทางการประกอบอาชีพ
   

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย  ได้แก่  

  • ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง องค์กรภาครัฐ/เอกชน
  • ข้าราชการทหาร/ข้าราชการตำรวจ
  • ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง องค์การส่วนการปกครองท้องถิ่น
  • ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง องค์การ ระหว่างประเทศ
  • ข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานต่างๆของรัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  • นักวิเคราะห์กำหนดนโยบาย นักวางแผนด้านรัฐประศาสนศาสตร์
 
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
   
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
 
โครงสร้างหลักสูตร
    โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชา โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ
   
  • แผน 1 แบบวิชาการ เป็นแผนการศึกษาเน้นการเรียนรู้การทำวิจัย โดยการทำวิทยานิพนธ์สร้างองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชานั้น ทั้งนี้ สัดส่วนหน่วยกิตของวิทยานิพนธ์และหน่วยกิตของการศึกษารายวิชา ให้เป็นไปตามที่สภาวิทยาลัยนครราชสีมากำหนด โดยอาจเป็นวิทยานิพนธ์อย่างเดียว หรือมีทั้งการศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งต้องทำวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 12 หน่วยกิต โดยไม่อาจศึกษารายวิชาอย่างเดียวได้
  • แผน 2 แบบวิชาชีพ เป็นแผนการศึกษารายวิชาและการค้นคว้าอิสระเชิงการประยุกต์ใช้ความรู้ในวิชาชีพโดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ ให้มีการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต และไม่เกิน 6 หน่วยกิต ดังนี้
   
ลำดับที่ หมวดวิชา จำนวนหน่วยกิต
แผน 1
จำนวนหน่วยกิต
แผน 2
 1
 2
 3
 4
 5
 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
 หมวดวิชาบังคับ
 หมวดวิชาบังคับเลือก
 หมวดวิทยานิพนธ์
 หมวดการค้นคว้าอิสระ
 ไม่นับหน่วยกิต
 18
 9
 12
 -
 ไม่นับหน่วยกิต
 18
 15
 -
 6
รวม 39 39
    หมายเหตุ นักศึกษา แผน 2 ทุกคนต้องมีการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ทั้งภาคข้อเขียนและการสอบปากเปล่า โดยจะมีสิทธิ์สอบประมวลความรู้เมื่อสอบผ่านรายวิชาบังคับครบถ้วนแล้ว