หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย
  หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
 
 
 
ชื่อปริญญาและอักษรย่อ
   

ชื่อเต็ม (ไทย) : รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อย่อ (ไทย) : รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Public Administration (Public Administration)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : D.P.A. (Public Administration)

   
  ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตร
    มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นนักวิจัยและนักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเชี่ยวชาญการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถเชื่อมโยงบูรณาการการวิจัยในศาสตร์ต่างๆเพื่อก่อเกิดประโยชน์ในสังคมอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ สรรสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์ทางการบริหารภาครัฐในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในมิติและบริบทต่างๆของสังคม โดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน
   
  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    แผน 1 แผน 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
  • เพื่อผลิตนักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เข้าใจถึงแก่นความรู้ในทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญ เชื่อมโยงบูรณาการการวิจัยในศาสตร์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการบริหารภาครัฐอันนำไปสู่การพัฒนาประเทศ
  • เพื่อผลิตนักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สามารถใช้สถิติขั้นสูง เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าประเด็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อน สรุปปัญหาและเสนอแนะทางการแก้ไขปัญหาที่เจาะลึกในการบริหารภาครัฐได้
  • เพื่อผลิตนักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ใช้กระบวนการวิจัยชี้นำสังคมอย่างเป็นธรรมและถูกต้อง
  • เพื่อผลิตนักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สรรสร้างผลงานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ตามจริยธรรมการวิจัยที่ถูกต้อง รู้เทคนิคการวิจัยและพัฒนาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
  • มีภาวะผู้นำทางการบริหารทีมในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม ประสานความร่วมมือเครือข่ายผ่านรูปแบบการวิจัย มีกระบวนการคิดเชิงระบบสังเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและสื่อสารออกมาในทางที่สร้างสรรค์
แผน 2 แผน 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
  • เพื่อผลิตนักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เข้าใจถึงแก่นความรู้ในทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญ เชื่อมโยงบูรณาการการวิจัยในศาสตร์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการบริหารภาครัฐอันนำไปสู่การพัฒนาประเทศ
  • เพื่อผลิตนักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาข้อมูลอย่างรู้เท่าทันและหลากหลาย สังเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ซับซ้อนด้านการบริหารงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อผลิตนักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การเปรียบเทียบข้อมูลที่ซับซ้อนและเลือกใช้องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นธรรม
  • เพื่อผลิตนักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนตามกฎกติกาของสังคม ปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยที่ถูกต้องในการสืบค้น อ้างอิง นำเสนอผลการวิจัยตามข้อเท็จจริง และจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • มีภาวะผู้นำทางการบริหารทีมในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม ประสานความร่วมมือเครือข่ายผ่านรูปแบบการวิจัย มีกระบวนการคิดเชิงระบบสังเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและสื่อสารออกมาในทางที่สร้างสรรค์
  • มีบุคลิกภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์การ ชุมชน สังคม ประเทศชาติอย่างมีหลักธรรมาภิบาล
   
  คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร (Graduate Attributes)
    แผน 1 แผน 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
  • นักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เข้าใจถึงแก่นความรู้ในทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญ เชื่อมโยงบูรณาการการวิจัยในศาสตร์ต่างๆ
  • นักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สามารถใช้สถิติขั้นสูงทางการวิจัย
  • นักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม จริยธรรมการวิจัย
  • นักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สรรสร้างองค์ความรู้ใหม่ตามจริยธรรมการวิจัยที่ถูกต้อง และพัฒนาข้อสรุปที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
  • นักวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีภาวะผู้นำทางการบริหารทีมในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม ประสานความร่วมมือเครือข่ายผ่านรูปแบบการวิจัย มีกระบวนการคิดเชิงระบบสังเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและสื่อสารออกมาในทางที่สร้างสรรค์
แผน 2 แผน 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
  • นักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เข้าใจถึงแก่นความรู้ในทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญ เชื่อมโยงบูรณาการการวิจัยในศาสตร์ต่างๆ
  • นักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาข้อมูลอย่างรู้เท่าทันและหลากหลาย สังเคราะห์และแปลผลข้อมูลทางการวิจัยที่ซับซ้อนด้านการบริหารงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • นักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การเปรียบเทียบข้อมูลที่ซับซ้อนและเลือกใช้องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นธรรม
  • นักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนตามกฎกติกาของสังคม ปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยที่ถูกต้องในการสืบค้น อ้างอิง นำเสนอผลการวิจัยตามข้อเท็จจริง และจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • นักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีภาวะผู้นำทางการบริหารทีมในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม ประสานความร่วมมือเครือข่ายผ่านรูปแบบการวิจัย มีกระบวนการคิดเชิงระบบสังเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและสื่อสารออกมาในทางที่สร้างสรรค์
  • นักบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีบุคลิกภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์การ ชุมชน สังคม ประเทศชาติอย่างมีหลักธรรมาภิบาล
   
  ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO)
    แผน 1 แผน 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
  • PLO1 ความรู้ลุ่มลึกในศาสตร์ สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ในศาสตร์ไปใช้ในกระบวนการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยได้อย่างถูกต้อง
  • PLO2 เชื่อมโยงบูรณาการการวิจัยในศาสตร์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการบริหารภาครัฐอันนำไปสู่การพัฒนาประเทศ
  • PLO3 ทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวิจัย วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ซับซ้อนตามระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ และนำองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติด้านการบริหารงานภาครัฐ ภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PLO4 เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยทางการบริหารงานภาครัฐผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีมาตรฐานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
  • PLO5 คุณธรรม จริยธรรม ใช้กระบวนการวิจัยชี้นำสังคมอย่างเป็นธรรมและถูกต้อง
  • PLO6 เข้าใจและปฏิบัติตนในการสรรสร้างผลงานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ตามจริยธรรมการวิจัยที่ถูกต้อง การสืบค้น อ้างอิง นำเสนอผลการวิจัยตามข้อเท็จจริง และจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • PLO7 พฤติกรรมความเป็นผู้นำ บริหารทีมในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม ประสานความร่วมมือเครือข่ายผ่านรูปแบบการวิจัยมีกระบวนการคิดเชิงระบบสังเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและสื่อสารออกมาในทางที่สร้างสรรค์ และมีทักษะในการสื่อสารเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แผน 2 แผน 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
  • PLO1 สังเคราะห์ข้อมูลหรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อน โดยเลือกใช้องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาชี้นำสังคมได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์
  • PLO2 เชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์ต่างๆ ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานภาครัฐ ภาคเอกชนแบบองค์รวม ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทใหม่ วิถีชีวิตใหม่ของคนในสังคม
  • PLO3 ทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาข้อมูลอย่างรู้เท่าทันและหลากหลาย สังเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ซับซ้อนด้านการบริหารงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PLO4 ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การเปรียบเทียบเพื่อประเมินประเด็นนโยบายสาธารณะ องค์การ และทรัพยากรมนุษย์ ที่ซับซ้อนและเสนอการแก้ไขปัญหาที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ทางการบริหารและยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน
  • PLO5 เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยทางการบริหารงานภาครัฐผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีมาตรฐานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
  • PLO6 คุณธรรม จริยธรรม ใช้กระบวนการวิจัยชี้นำสังคมอย่างเป็นธรรมและถูกต้อง
  • PLO7 เข้าใจและปฏิบัติตนในการสรรสร้างผลงานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ตามจริยธรรมการวิจัยที่ถูกต้อง การสืบค้น อ้างอิง นำเสนอผลการวิจัยตามข้อเท็จจริง และจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • PLO8 พฤติกรรมความเป็นผู้นำ บริหารทีมในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม ประสานความร่วมมือเครือข่ายผ่านรูปแบบการวิจัยมีกระบวนการคิดเชิงระบบสังเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและสื่อสารออกมาในทางที่สร้างสรรค์ และมีทักษะในการสื่อสารเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PLO9 บุคลิกภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์การ ชุมชน สังคม ประเทศชาติอย่างมีหลักธรรมาภิบาล
   
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    แผน 1 แผน 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท
  • ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
  • ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
  • มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่วิทยาลัยกำหนด
  • มีบทความวิจัยที่เผยแพร่ในระดับชาติ หรือ นานาชาติ (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์) อย่างน้อย 1 เรื่อง
แผน 2 แผน 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท
  • ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
  • ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
  • มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่วิทยาลัยกำหนด
 
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
   
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 54 หน่วยกิต
 
โครงสร้างหลักสูตร
     
   
หมวดวิชา แผน 1 แผน 1.1 แผน 2 แผน 2.1
 1. หมวดวิชาพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)*
 2. หมวดวิชาบังคับ
   2.1 กลุ่มวิชาบังคับ
   2.2 กลุ่มวิชาเลือก
 3. หมวดดุษฎีนิพนธ์
 9
 -
 -
 -
 54
 9
 18
 15
 3
 36
รวม 54 54
    หมายเหตุ นักศึกษา แผน 2 ทุกคนต้องมีการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ทั้งภาคข้อเขียนและการสอบปากเปล่า โดยจะมีสิทธิ์สอบประมวลความรู้เมื่อสอบผ่านรายวิชาบังคับครบถ้วนแล้ว